หน้าเว็บ

ใบความรู้ เรื่อง การโน้มน้าวใจ




ใบความรู้

เรื่อง การโน้มน้าวใจ


            การโน้มน้าวใจ เป็นพฤติกรรมการสื่อสารอย่างหนึ่งเพื่อพยายามเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำของบุคคลอื่น โดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลต่อใจคน ทั้งโดยวัจนภาษา คือ คำพูด และอวัจภาษา คือกิริยาท่าทางต่างๆ จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจประสงค์ เช่น การโฆษณาสินค้า ,การหาเสียงของ ส.ส. เป็นต้น การโน้มน้าวใจนี้มีทั้งดีและแฝงเจตนาร้าย
            หลักในการโน้มน้าวใจ คือ การทำให้ผู้ถูกโน้มน้าวเชื่อว่า ถ้าทำตามที่ผู้โน้มน้าวใจชักนำแล้ว จะได้รับผลตอบแทนตามความต้องการของตน
            กลวิธีการโน้มน้าวใจ ที่สำคัญมี ๖ วิธี คือ
๑.       แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ คือ บุคคลผู้โน้มน้าวใจต้องมีความรู้จริง มีคุณธรรมและมีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น จึงจะได้รับความเชื่อถือ
๒.    แสดงให้เห็นความหนักแน่นของเหตุผล ยิ่งจะทำให้การโน้มน้าวใจประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นและมีคุณค่าแก่การยอมรับแท้จริง
๓.     แสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน บุคคลที่มีความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน ย่อคล้อยตามกันได้ง่าย จึงชักจูงได้ง่าย
๔.     แสดงให้เห็นทางเลือกทั้งในด้านดีและด้านเสีย เพื่อให้บุคคลอื่นเกิดความนึกคิด เชื่อถือหรือปฏิบัติตามที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการ
๕.     สร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะหากเอาจริงเอาจังเกินไป การโน้มน้าวใจจะไม่ได้ผล
๖.      เร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า คือ ไม่ว่าดีใจ เสียใจ วิตกกังวล หวาดกลัว ย่อมขาดเหตุผล ขาดการพินิจพิเคราะห์ที่ดี ทำให้ตัดสินใจคล้ายตามผู้โน้มน้าวใจได้โดยง่าย
ภาษาที่โน้มน้าวใจ
            เราควรใช้ภาษาที่วิงวอน ขอร้องด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ไม่ใช้การข่มขู่บีบบังคับ หรือคุกคามความรู้สึกของผู้ที่ต้องการโน้มน้าวใจ การโน้มน้าวใจมักมีการใช้ภาษาในเชิง เสนอแนะ เชิงขอร้อง เชิงวิงวอนและเชิงเร้าใจ
                        การใช้วิจารณญาณในการรับสารโน้มน้าวใจ
๑.       พิจารณาว่าสารนั้นมีวัตถุประสงค์ที่โน้มน้าวใจหรือไม่
๒.    วิเคราะห์สารนั้นว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่
๓.     พิจารณาว่าผู้โน้มน้าวใจใช้วิธีและภาษาในการโน้มน้าวใจอย่างไร
๔.     ใช้วิจารณญาณวิเคราะห์ว่ามีความสมเหตุสมควรเชื่อหรือคล้อยตามหรือไม่ เพราะเหตุใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น