หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563

วิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ภาคเรียที่ 1 ปีการศึกษา 2562





การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R
ภาคเรียที่ 1 ปีการศึกษา 2562






นราธิป  คำสุวรรณ
ตำแหน่ง ครู
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย







งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
ปีการศึกษา 2562
โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13







ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
                          โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R
ชื่อผู้ทำวิจัย             ว่าที่ร้อยตรีนราธิป  คำสุวรรณ
สถาบันการศึกษา       โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์
ปีการศึกษา              2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องการอ่านจับใจความด้วยวิธีการการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ประชากรในการวิจัยได้แก่ นักเรียนโรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 98 คน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ จำนวน 32 คน  ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใชวิธีการการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรูแบบ SQ4R เรื่องการอานจับใจความ  
2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอานจับใจความ
ผลการวิจัยพบว่า
                ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05




วิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คําภาษาต่างประเทศในภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องคําภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2562


การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คําภาษาต่างประเทศในภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องคําภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ปีการศึกษา 2562

      นราธิป  คำสุวรรณตำแหน่ง ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย       งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทยปีการศึกษา 2562
โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13

 











ชื่อเรื่อง                การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คําภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

                          โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องคําภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
                          ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2562
ชื่อผู้ทำวิจัย            ว่าที่ ร.ต.นราธิป  คำสุวรรณ
สถาบันการศึกษา     โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์
ปีการศึกษา             2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2562
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์จํานวน 3 ห้องเรียน มีจํานวนนักเรียน 94 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3  โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2562 จํานวน 29 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับสลาก ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น ได้แก่ การใช้แบบฝึกเรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคําภาษาต่างประเทศในภาษาไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
ผลการวิจัยพบว่า
                ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคําภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 15.48 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.24 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนที่มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 9.34 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.47 เมื่อตรวจสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องคําภาษาต่างประเทศในภาษาไทยหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้