หน้าเว็บ

ใบความรู้ การใช้คำราชาศัพท์





ความหมายของคำราชาศัพท์
                คำราชาศัพท์ถ้าแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง ศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ คำราชาศัพท์ใช้กับพระมหากษัตริย์ เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์และคนสุภาพ ราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่ชาวไทยใช้สื่อสารกับบุคคลดังกล่าวด้วยความเชื่อและการยกย่องมาแต่โบราณกาลความหมายของคำราชาศัพท์
                คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
พระบรมวงศานุวงศ์
พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
ขุนนาง ข้าราชการ
สุภาพชน

ประโยชน์ของการเรียนรู้คำราชาศัพท์
             เพราะเหตุที่ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่สูงสุดของประเทศมาแต่โบราณ พระเจ้าแผ่นดินทรงใกล้ชิดกับประชาชนอย่างแนบแน่นประการหนึ่ง คำราชาศัพท์นั้นเป็นแบบอย่างวัฒนธรรมอันดีทางด้านการใช้ภาษาไทยประการหนึ่ง และการอ่านหรือศึกษาวรรณคดีก็ดี การรับสารสื่อมวลชนในปัจจุบันก็ดี เหล่านี้ล้วนต้องมีคำราชาศัพท์เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมออีกประการหนึ่ง ดังนั้นการเรียนรู้คำราชาศัพท์จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย ดังจะเห็นได้ดังต่อไปนี้
ประโยชน์ทางตรง
        เป็นประโยชน์ที่เกิดจากการตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้า อันได้แก่
1. ประโยชน์จากการใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง
ที่เรียกว่าใช้คำราชาศัพท์ถูกต้องนั้น คือ ถูกต้องตามบุคคลที่ใช้ว่าบุคคลใดควรใช้ราชาศัพท์ขั้นไหน อย่างไร ประการหนึ่ง ถูกต้องตามโอกาส คือ โอกาสใดใช้คำราชาศัพท์หรือไม่เพียงใด ประการหนึ่ง และถูกต้องตามวิธีการใช้คือ ใช้ถูกต้องตามแบบแผนที่นิยมนั้นก็อีกประการหนึ่ง การใช้ราชาศัพท์ต้องใช้ทั้งความรู้และประสบการณ์เป็นดุลยพินิจให้ถูกต้อง
2. ประโยชน์จากการเข้าใจที่ถูกต้อง
            ไม่ว่าจากการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ เช่น วรรณกรรมทั่วไป วรรณคดี หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ทั้งหลาย โทรทัศน์ วิทยุ ตลอดจนสิ่งบันเทิงทั้งหลาย มีภาพยนตร์ ละคร โขน ลิเก เป็นต้น เพราะการรับรู้ รับฟัง บางครั้งต้องมีสิ่งที่เรียกว่า คำราชาศัพท์ร่วมอยู่ด้วยเสมอ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
ประโยชน์โดยทางอ้อม
              เป็นประโยชน์ผลพลอยได้ แม้ตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้าหรือไม่ตั้งเป้าหมายไว้ก็ตาม คือ เมื่อรู้คำราชาศัพท์ดี ถูกต้อง ฟังหรืออ่านเรื่องราวที่มีคำราชาศัพท์เข้าใจผลประโยชน์พลอยได้ ก็จะเกิดขึ้นเสมอ ดังนี้
1. ธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงานของชาติไว้
คือ รักษาให้คงอยู่ไม่เสื่อมสูญ ถือเป็นการธำรงรักษาวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ
2. เพิ่มความมีเสน่ห์ในตัวบุคคล
คือ บุคคลผู้รู้และใช้คำราชาศัพท์ได้อย่างถูกต้อง เป็นการแสดงออกซึ่งความมีวัฒนธรรมอันดีงามทางภาษา
วิธีใช้ราชาศัพท์ที่ควรสังเกต
            ๑.การใช้ ทรงมีหลัก ๓ ประการ
                        ๑.๑นำหน้าคำกริยาสามัญทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น
ทรงเจิม  ทรงออกกำลังกาย ทรงใช้ ทรงวิ่ง เป็นต้น
                        ๑.๒นำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น
ทรงดนตรี  ทรงช้าง ทรงเครื่อง  ทรงรถ เป็นต้น
                        ๑.๓นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้  เช่น
ทรงพระอักษร  ทรงพระดำเนิน ทรงพระราชนิพนธ์  ทรงพระราชดำริ เป็นต้น
            คำกริยาที่เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ ทรงนำหน้า เช่น เสด็จ เสวย โปรด  เป็นต้น
            ๒.การใช้คำ พระบรม   พระราช  พระ
                        ๒.๑ คำ พระบรมใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราชานุเคราะห์ พระปรมาภิไธย พระบรมราโชวาท ฯลฯ
                        ๒.๒ พระราชใช้นำหน้าคำนาม แสดงว่าคำนามนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์  สมเด็จพระบรมราชินี  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  เช่นพระราชานุญาต พระราชวโรกาส พระราชประวัติ  ฯลฯ
                        ๒.๓ คำ พระใช้นำหน้าคำนามที่เป็นอวัยวะ ของใช้ เช่น
พระนลาฏ  พระชานุ  พระขนง  ฯลฯ
            ๓.การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย ไม่นิยมเลียนแบบสำนวนต่างประเทศ ได้แก่
                        ๓.๑ถ้ามาต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้ว่า ประชาชนมาเฝ้า ฯ รับเสด็จ   คำว่าเฝ้าฯรับเสด็จย่อมาจากเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จไม่ใช้คำว่าถวายการต้อนรับ
                        ๓.๒คำว่าคนไทยมีความจงรักภักดีหรือแสดงความจงรักภักดีใช้ได้ แต่ไม่ควรใช่คำว่า ถวายความจงรักภักดี
            ๔.การใช้ คำราชาศัพท์ ให้ถูกต้องตามเหตุผล
                        ๔.๑คำว่า อาคันตุกะ” “ราชอาคันตุกะและพระราชอาคันตุกะใช้ดังนี้ คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ     เช่นแขกของพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า

ราชนำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ต้องมีราชนำหน้า
                        ๔.๒ในการถวายสิ่งของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                    ถ้าเป็นของเล็กยกได้ก็ใช้ ทูลเกล้าฯ ถวาย
                                    ถ้าเป็นของใหญ่ยกไม่ได้ใช้ น้อมเกล้า ฯ ถวาย
ชนิดของคำราชาศัพท์  ที่ควรทราบมี ๓ ชนิด
๑.  คำนามราชาศัพท์ โดยปกติจะขึ้นต้นด้วย พระบรม, พระราช, พระ
พระบรม ใช้กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น เช่น พระบรมราโชวาท พระบรมหาราชวัง
พระราช ใช้กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินี, พระยุพราช ,พระบรมราชกุมารี เช่น พระราชวัง พระราชประวัติ พระราชนิพนธ์
พระ ใช้นำหน้าเรียกอวัยวะ เครื่องใช้ หรือคำที่ไม่มีคำราชาศัพท์ พระกรรณ พระที่นั่ง  พระเขนย พระสหาย
๒.  คำสรรพนามราชาศัพท์ คือคำที่ใช้แทน ผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่ถูกกล่าวถึง
๓. คำกริยาราชาศัพท์
     ๑.  คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ให้ใช้ได้ทันที เช่น ตรัส เสวย ประสูติ สวรรคต ถวายบังคมลา ประชวร ประทับ สรวง
     ๒.  ใช้คำว่า ทรง นำหน้าคำกริยา เช่น ทรงวิ่ง ทรงยินดี ทรงสร้าง ทรงสกี 
     ๓.  ใช้คำว่า ทรง นำหน้าคำนาม เช่น ทรงฟุตบอล ทรงรถ ทรงดนตรี
     ๔.  ใช้คำว่าทรงนำหน้า คำราชาศัพท์ เช่น ทรงพระอักษร ทรงพระราชนิพนธ์ 
คำราชาศัพท์เบื้องต้น  หมวด ขัตติยตระกูล (ตระกูลของพระมหากษัตริย์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น