หน้าเว็บ

ใบความรู้ที่ ๒ เรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

                                                                          ใบความรู้ที่ ๒
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                         รายวิชา ท๒๒๑๐๑  ภาษาไทย
เรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร                                                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
*********************************************************************

                                                   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

โคลงภาพพระสุริโยทัยขาดคอช้าง
บทที่ ถอดความได้ว่า  พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์ของพม่า ยกกองทัพที่มีแสนยานุภาพ รงบรวมไพร่พลทั้งพม่าและมอญประมาณ สามแสนคน มายังอยุธยาและวางค่ายไว้ใกล้เมือง
บทที่ ถอดความได้ว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าแผ่นดินสยาม จึงนำกำลังพลออกตั้งค่ายเตรียมรับศึกและดูกำลังฝ่ายตรงข้าม แล้วนำกำลังพลออกมากลางสนามรบ
บทที่ ถอดความได้ว่า สมเด็จพระสุริโยทัย พระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้แต่งองค์ทรงเครื่องเยี่ยงชาย เป็นชุดออกศึกเฉกเช่นมหาอุปราช แล้วทรงช้างเข้าร่วมรบ
บทที่ ถอดความได้ว่า กองทัพหน้าของทั้งสองฝ่ายต่อสู้กัน ช้างทรงของพระเจ้าแปรได้ชนช้างกับพระมหาจักรพรรดิ พระมหาจักรพรรดิเสียทีเพลี่ยงพล้ำพระเจ้าแปร
บทที่ ถอดความได้ว่า  องค์อัครมเหสีมีน้ำพระทัยกอรปด้วยความกตัญญูกตเวทียิ่ง ทรงวิตกว่าพระสวามีจะสิ้นพระชนม์จึงทรงขับช้างพระที่นั่งเข้าต่อสู้กับศัตรู
บทที่ ถอดความได้ว่า   พระเจ้าแปรฟาดพระแสงของ้าวใส่พระอุระขาดสะพายแหล่ง จนสิ้นพระชนม์  พระราชโอรสจึงทรงกันนำพระศพกลับคืนสู่กรุงศรีอยุธยา แม้นพระองค์จะสิ้นพระชนม์ลงแล้วแต่ยังไม่สิ้นผู้สรรเสริญ
โคลงภาพพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต
บทที่ ถอดความได้ว่า  พระเจ้าสรรเพชญ์ที่แปดกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จประพาสทรงตกปลาที่ปากน้ำโดยล่องเรือพระที่นั่งเอกไชยมาถึงตำบลโคกขามลำคลองที่คดเคี้ยวทำให้หัวเรือพระที่นั่งขัดเข้ากับกิ่งไม้หักลง
บทที่ ถอดความได้ว่า  พันท้ายนรสิงห์ตกประหม่าจนขาดสติคิดทรงโดดลงจากเรือทูลขอพระราชทานโทษประหารชีวิตตามความผิดในกฎมนเทียรบาล ให้ตัดศีรษะตั้งคู่กับโขนเรือไว้ที่ศาลเพียงตา
บทที่ ถอดความได้ว่า  พระเจ้าแผ่นดินทรงพระราชทานอภัยโทษให้แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอมรับ จะยอมตายแม้นพระองค์จะโปรดให้ปั้นรูปพันท้ายนรสิงห์แล้วฟันรูปปั้นแทนแต่พันท้ายนรสิงห์ทัดทานว่าจะผิดพระราชประเพณี
บทที่ ถอดความได้ว่า  สมเด็จพระเจ้าเสือเมื่อได้ฟังเหตุผลของพันท้ายนรสิงห์เช่นนั้นจึง จำพระทัยรับสั่งให้เพชฌฆาตประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ แล้วนำโขนเรือกับศีรษะของพันท้ายนรสิงห์ ไปตั้งบวง สรวงไว้ที่ศาลเพียงตาเพื่อเป็นการประกาศคุณความดีของพันท้ายนรสิงห์ให้คนได้เห็นเป็นแบบอย่างต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น