หน้าเว็บ

งานวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาการอ่านภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการอ่านตีความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2560




การพัฒนาการอ่านภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการอ่านตีความ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2560







นราธิป  คำสุวรรณ
ครู
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย







งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 



















1.ชื่อเรื่อง        การพัฒนาการอ่านภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการอ่านตีความ ของนักเรียน
                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2560

2. ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา
          การอ่านเป็นทักษะกระบวนการเรียนรู้พื้นฐานที่สำคัญ ผู้เรียนสามารถ เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้อ่านจึงต้องมีความรู้และทักษะการอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องที่อ่านได้อย่างลึกซึ้ง การอ่านมีจุดมุ่งหมายหลายประการ ตามลำดับขั้นความยากง่ายสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการอ่านตามจุดประสงค์ ซึ่งจะช่วยให้เกิดทักษะการเรียนรู้ที่รวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพ
          จากการจัดกระบวนการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 35 คน โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2560 พบว่ามีนักเรียนจำนวน 10 คน มีปัญหาด้านการอ่านตีความ ทำให้ส่งผลถึงการเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้น ๆ ครูผู้สอนจึงจัดทำแบบฝึกทักษะการอ่านตีความภาษาไทยขึ้น จากนั้นนำแบบฝึกมาพัฒนาการอ่านตีความของนักเรียน โดยใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและนอกเวลาเรียน

3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
          เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการอ่านตีความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2/1 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์

4. วิธีดำเนินการวิจัย
          4.1 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
          ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 35 คน โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2560
          กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โดยดำเนินการสุ่มโดยการเลือกแบบเจาะจง จากนักเรียนที่คะแนนทดสอบการอ่านตีความ รายวิชาภาษาไทย ต่ำกว่าร้อยละ 40 จำนวน 10 คน
         
          4.2 เครื่องมือหรือนวัตกรรมที่ใช้
                   1) ชุดที่ 1 แบบฝึกหลักการอ่านตีความ
                   2) ชุดที่ 2 แบบฝึกการตีความจากการอ่านข้อความ
                   3) ชุดที่ 3 แบบฝึกการตีความจากการอ่านข่าว
                   4) ชุดที่ 4 แบบฝึกการตีความจากการอ่านเนื้อเพลง
                   5) ชุดที่ 5 แบบฝึกการตีความจากการอ่านนิทาน
                   6) ชุดที่ 6 แบบฝึกการตีความจากการคำและแนวคิด
           
เกณฑ์การแปลความหมายของคะแนน ของแบบทดสอบการอ่านตีความ
          คะแนน 15 – 20 คะแนน อยู่ในระดับ ดี
          คะแนน 10 – 14 คะแนน อยู่ในระดับ พอใช้
          คะแนน   0 -   9 คะแนน อยู่ในระดับ ต้องปรับปรุง
เกณฑ์การแปลความหมายของคะแนน ของแบบฝึกการอ่านตีความทั้ง 6 ชุด
          คะแนน 15 – 20 คะแนน อยู่ในระดับ ดี
          คะแนน 10 – 14 คะแนน อยู่ในระดับ พอใช้
          คะแนน   0 -   9 คะแนน อยู่ในระดับ ต้องปรับปรุง

          4.3 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                    1) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบฝึกการอ่านตีความ
                    2) ดำเนินการสร้างแบบฝึกการอ่านตีความ
                    3) นำแบบฝึกไปตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ
                    4) นำแบบฝึกมาแก้ไข และปรับปรุงให้ถูกต้องและสมบูรณ์
                    5) นำแบบฝึกมาใช้กับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านตีความ
         
          4.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำอย่างไรในการได้มาของข้อมูล
                    1) นำแบบทดสอบการอ่านตีความ ไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเก็บข้อมูลก่อนการพัฒนา
                    2) นำแบบฝึกการอ่านตีความ มาให้นักเรียนฝึกอ่านและปฏิบัติ
                    3) นำแบบทดสอบการอ่านตีความมาทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างอีกครั้งเพื่อเก็บข้อมูลหลังการพัฒนา
         
          4.5 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
                นำผลที่ได้จากการทดสอบการอ่านตีความก่อนการพัฒนา และหลังการพัฒนามาหาความถี่ ค่า t ค่าเฉลี่ย 
() และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

5. ขอบเขตของการวิจัย
          5.1 ตัวแปรที่ศึกษา
                   1) ตัวแปรอิสระ คือ แบบฝึกการอ่านตีความ จำนวน 6 ชุด
                   2) ตัวแปรตาม คือ ความสามารถของนักเรียนในการอ่านตีความได้ถูกต้อง
         
          5.2 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
          ระหว่างวันที่  ธันวาคม พ.. 2560 – กุมภาพันธ์ พ.. 2561
         
          5.3 เนื้อหา
                   - การอ่านตีความร้อยแก้ว
                   - การอ่านตีความร้อยกรอง
         
          5.4 ประโยชน์ของการวิจัย
                   1) นักเรียนมีความเข้าใจและสนใจเรียนดีขึ้น
                   2) นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน
                   3) นักเรียนสามารถอ่านตีความได้ถูกต้องดีขึ้น




การวิเคราะห์ข้อมูล
          1. นำคำตอบจากแบบทดสอบของนักเรียนมาตรวจให้คะแนน โดยถือเกณฑ์ ตอบถูกให้ 1 คะแนน
ตอบผิดให้ 0 คะแนน และนำผลคะแนนจากการทดสอบก่อนการประยุกต์ใช้ทฤษฏีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
แบบฝึก (Pre-test) และผลคะแนนจากการสอบหลังการใช้แบบฝึก (Post-test) มาเปรียบเทียบความต่างของ
คะแนน ทดสอบด้วยค่า t-test

ตารางที่ 1 แสดงผลแบบฝึกหลักการอ่านตีความ ชุดที่ 1

ที่
ชื่อ - สกุล
ผลการอ่านตีความ
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
สรุป
1
เด็กชายปวริชร์  พันธ์หญ้า
6
15
ดี
2
เด็กชายปวรุต  ช่างเรือ
8
13
พอใช้
3
เด็กชายรุสซีดาน  นาดี
5
12
พอใช้
4
เด็กชายวสัตติ์  กะลันตัน
5
11
พอใช้
5
เด็กชายสรรเพชร  เพ็ชรน้อย
7
13
ดี
6
เด็กชายอภิวิชญ์  สุภาพ
8
13
พอใช้
7
เด็กหญิงกมลวรรณ  พยายาม
8
15
ดี
8
เด็กหญิงฐิติพร  รักพริ้ม
9
15
ดี
9
เด็กหญิงภาวินี  พรหมดนตรี
9
12
พอใช้
10
เด็กหญิงสุวรรณธิดา  พ่อค้า
8
12
พอใช้




ตารางที่ 2 แสดงผลแบบฝึกการตีความจากการอ่านข้อความ ชุดที่ 2
ที่
ชื่อ - สกุล
ผลการอ่านตีความ
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
สรุป
1
เด็กชายปวริชร์  พันธ์หญ้า
8
16
ดี
2
เด็กชายปวรุต  ช่างเรือ
7
11
พอใช้
3
เด็กชายรุสซีดาน  นาดี
8
17
ดี
4
เด็กชายวสัตติ์  กะลันตัน
7
10
พอใช้
5
เด็กชายสรรเพชร  เพ็ชรน้อย
8
12
พอใช้
6
เด็กชายอภิวิชญ์  สุภาพ
8
15
ดี
7
เด็กหญิงกมลวรรณ  พยายาม
9
12
พอใช้
8
เด็กหญิงฐิติพร  รักพริ้ม
8
16
ดี
9
เด็กหญิงภาวินี  พรหมดนตรี
9
11
พอใช้
10
เด็กหญิงสุวรรณธิดา  พ่อค้า
10
12
พอใช้


ตารางที่ 3 แสดงผลแบบฝึกการตีความจากการอ่านข่าว ชุดที่ 3
                  
ที่
ชื่อ - สกุล
ผลการอ่านตีความ
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
สรุป
1
เด็กชายปวริชร์  พันธ์หญ้า
9
18
ดี
2
เด็กชายปวรุต  ช่างเรือ
11
14
พอใช้
3
เด็กชายรุสซีดาน  นาดี
8
15
ดี
4
เด็กชายวสัตติ์  กะลันตัน
10
14
พอใช้
5
เด็กชายสรรเพชร  เพ็ชรน้อย
8
13
พอใช้
6
เด็กชายอภิวิชญ์  สุภาพ
9
16
ดี
7
เด็กหญิงกมลวรรณ  พยายาม
9
17
ดี
8
เด็กหญิงฐิติพร  รักพริ้ม
8
15
ดี
9
เด็กหญิงภาวินี  พรหมดนตรี
10
14
พอใช้
10
เด็กหญิงสุวรรณธิดา  พ่อค้า
9
15
ดี


ตารางที่ 4 แสดงผลแบบฝึกการตีความจากการอ่านเนื้อเพลง ชุดที่ 4
                  
ที่
ชื่อ - สกุล
ผลการอ่านตีความ
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
สรุป
1
เด็กชายปวริชร์  พันธ์หญ้า
9
16
ดี
2
เด็กชายปวรุต  ช่างเรือ
10
14
พอใช้
3
เด็กชายรุสซีดาน  นาดี
8
16
ดี
4
เด็กชายวสัตติ์  กะลันตัน
10
14
พอใช้
5
เด็กชายสรรเพชร  เพ็ชรน้อย
8
13
พอใช้
6
เด็กชายอภิวิชญ์  สุภาพ
9
16
ดี
7
เด็กหญิงกมลวรรณ  พยายาม
9
14
พอใช้
8
เด็กหญิงฐิติพร  รักพริ้ม
8
16
ดี
9
เด็กหญิงภาวินี  พรหมดนตรี
10
14
พอใช้
10
เด็กหญิงสุวรรณธิดา  พ่อค้า
9
16
ดี

ตารางที่ 5 แสดงผลแบบฝึกการตีความจากการอ่านนิทาน ชุดที่ 5
                  
ที่
ชื่อ - สกุล
ผลการอ่านตีความ
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
สรุป
1
เด็กชายปวริชร์  พันธ์หญ้า
4
17
ดี
2
เด็กชายปวรุต  ช่างเรือ
5
15
ดี
3
เด็กชายรุสซีดาน  นาดี
6
17
ดี
4
เด็กชายวสัตติ์  กะลันตัน
3
15
ดี
5
เด็กชายสรรเพชร  เพ็ชรน้อย
5
15
ดี
6
เด็กชายอภิวิชญ์  สุภาพ
4
15
ดี
7
เด็กหญิงกมลวรรณ  พยายาม
4
16
ดี
8
เด็กหญิงฐิติพร  รักพริ้ม
4
16
ดี
9
เด็กหญิงภาวินี  พรหมดนตรี
5
16
ดี
10
เด็กหญิงสุวรรณธิดา  พ่อค้า
4
12
พอใช้


ตารางที่ 6 แสดงผลแบบฝึกการตีความจากการคำและแนวคิด ชุดที่ 6

ที่
ชื่อ - สกุล
ผลการอ่านตีความ
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
สรุป
1
เด็กชายปวริชร์  พันธ์หญ้า
5
18
ดี
2
เด็กชายปวรุต  ช่างเรือ
5
15
ดี
3
เด็กชายรุสซีดาน  นาดี
6
16
ดี
4
เด็กชายวสัตติ์  กะลันตัน
4
16
ดี
5
เด็กชายสรรเพชร  เพ็ชรน้อย
5
17
ดี
6
เด็กชายอภิวิชญ์  สุภาพ
4
17
ดี
7
เด็กหญิงกมลวรรณ  พยายาม
5
17
ดี
8
เด็กหญิงฐิติพร  รักพริ้ม
5
18
ดี
9
เด็กหญิงภาวินี  พรหมดนตรี
5
17
ดี
10
เด็กหญิงสุวรรณธิดา  พ่อค้า
4
16
ดี

ตารางที่ 7 แสดงคะแนนการทดสอบการอ่านตีความ ก่อนและหลังการพัฒนา

ที่
ชื่อ - สกุล
คะแนนการทดสอบการอ่านตีความ
ก่อนพัฒนา
หลังพัฒนา
1
เด็กชายปวริชร์  พันธ์หญ้า
9
16
2
เด็กชายปวรุต  ช่างเรือ
7
15
3
เด็กชายรุสซีดาน  นาดี
10
18
4
เด็กชายวสัตติ์  กะลันตัน
7
15
5
เด็กชายสรรเพชร  เพ็ชรน้อย
7
15
6
เด็กชายอภิวิชญ์  สุภาพ
8
14
7
เด็กหญิงกมลวรรณ  พยายาม
9
16
8
เด็กหญิงฐิติพร  รักพริ้ม
11
17
9
เด็กหญิงภาวินี  พรหมดนตรี
9
15
10
เด็กหญิงสุวรรณธิดา  พ่อค้า
10
18

          จากการพัฒนาการอ่านตีความ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านตีความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 6 ชุด ซึ่งจัดการทดสอบก่อนการเรียน (Pre-test) จำนวน 20 ข้อ และทดสอบหลังการเรียน (Post-test) จำนวน 20 ข้อ นำผลคะแนนจากการทดสอบก่อนการเรียน (Pre-test) และผลคะแนนจากการทดสอบหลังการเรียน (Post-test) มาเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนน ทดสอบด้วยค่า t-test (ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. 2540 : 240 – 249)  ดังในตารางที่ 8
ตารางที่ 8 แสดงการเปรียบเทียบคะแนนการอ่านตีความ
ที่
ชื่อ - สกุล
ก่อน
หลัง
D
D2
1
เด็กชายปวริชร์  พันธ์หญ้า
8
16
8
54
2
เด็กชายปวรุต  ช่างเรือ
6
15
9
81
3
เด็กชายรุสซีดาน  นาดี
9
18
9
81
4
เด็กชายวสัตติ์  กะลันตัน
6
15
9
81
5
เด็กชายสรรเพชร  เพ็ชรน้อย
6
15
9
81
6
เด็กชายอภิวิชญ์  สุภาพ
7
14
7
49
7
เด็กหญิงกมลวรรณ  พยายาม
8
16
8
54
8
เด็กหญิงฐิติพร  รักพริ้ม
10
17
7
49
9
เด็กหญิงภาวินี  พรหมดนตรี
8
15
7
49
10
เด็กหญิงสุวรรณธิดา  พ่อค้า
9
18
9
81
รวม
77
159
82
660







กล่องข้อความ:    ΣD
 
 N  - 1
                                                         
                             t         =

                  
                   เมื่อ      t         แทน    ค่าสถิติที่ใช้ในการพิจารณา  t  =    distribution
D        แทน    ผลต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนใช้แบบฝึกและ หลัง
                   การใช้แบบฝึก
                                      ΣD      แทน    ผลรวมของผลต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนใช้แบบ
                                                    ฝึกและหลังใช้แบบฝึก
                             ΣD2     แทน    ผลรวมของผลต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนใช้

(ΣD)2
 
                                                แบบฝึกและหลังใช้แบบฝึกแต่ละตัวยกกำลังสอง
                                       แทน    ผลรวมของผลต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนใช้
                                                แบบฝึกและหลังใช้ แบบฝึกยกกำลังสอง
                             N        แทน    จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง





ตารางที่ 9 แสดงผลการเปรียบเทียบคะแนนการอ่านตีความ

การทดสอบสอบ
N
ΣD
ΣD2
t
ก่อนพัฒนา
หลังพัฒนา
10
82
660
28.21

มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ( = .1 , df = 9 )
** = มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01

ตารางที่ 10 แสดงข้อมูลการพัฒนาการอ่านตีความ ของนักเรียนชั้น ม.2/1

ที่
ก่อนพัฒนา (20)
หลังพัฒนา (20)
X1
x12
X2
x22
1
8
64
16
256
2
6
36
15
225
3
9
81
18
324
4
6
36
15
225
5
6
36
15
225
6
7
49
14
196
7
8
64
16
256
8
10
100
17
289
9
8
64
15
225
10
9
81
18
324









Σx
 N

 
 


                                X         =            
                            
                   เมื่อ        X     แทน    ค่าเฉลี่ย
                              Σx     แทน    ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
                              N       แทน    จำนวนนักเรียนในกลุ่มทดลอง

ตารางที่ 11 แสดงค่าเฉลี่ย ( x ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

การทดสอบสอบ
N
x
S.D.
ก่อนพัฒนา
10
7.70
1.41
หลังพัฒนา
10
15.90
1.37

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลหลังการพัฒนาพบว่า คะแนนทดสอบก่อนพัฒนาและหลังพัฒนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (t-test = 28.21) แสดงว่าโดยภาพรวมแล้วนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 มีการเรียนรู้หลังการพัฒนาสูงขึ้นมากกว่าก่อนพัฒนา โดยผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.70  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.41 และระดับคุณภาพการเรียนรู้เดิมนั้นต้องได้รับการปรับปรุง  ซึ่งผู้สอนได้ปรับปรุงพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านตีความ เมื่อเสร็จการพัฒนาโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิม พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.90 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.37 แสดงให้เห็นว่า หลังการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านตีความ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงในระดับที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น

สรุปผลการวิจัย
          หลังจากที่ได้อ่านแบบฝึกทักษะการอ่านตีความ จำนวน 6 ชุด ฝึกอ่านชุดละ 2 ครั้ง ผลปรากฏว่า มีนักเรียนที่สามารถอ่านตีความได้ถูกต้อง อยู่ในระดับ ดี มากขึ้นตามลำดับ ซึ่งในแบบฝึกทักษะการอ่านตีความชุดที่ 6 อยู่ในระดับ ดี  จำนวน 10 คน


อภิปรายผลการวิจัย
          ครูทุกท่านจะต้องร่วมมือกันในการฝึกฝนนักเรียนให้อ่านตีความให้ถูกต้อง ชัดเจน และต้องให้แก้ไขทันทีที่พบว่านักเรียนอ่านตีความไม่ถูกต้อง ให้นักเรียนได้ฝึกอ่านตีความอยู่เสมอจนเกิดเป็นความเคยชินและและความตระหนักคิดติดตัวตลอดไป

ข้อเสนอแนะ
          ครูที่สอนวิชาภาษาไทยทุกชั้นเรียนควรให้นักเรียนได้ฝึกการอ่านตีความอยู่เสมอ ทั้งในรูปแบบของแบบฝึกและในรูปแบบของแบบทดสอบ



 










บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับเป็นกฎหมาย.
          กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.
          กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
วิชาการ, กรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตร
          การศึกษาข้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). สถิติวิทยาทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4.
          กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.



 













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น