หน้าเว็บ

ใบความรู้ บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมา และสามัคคีเสวก



บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมา และสามัคคีเสวก
ผู้แต่ง                          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะคำประพันธ์   กลอนเสภา (กลอนสุภาพ)
                                   ตอน วิศวกรรมา เป็นกลอนทั้งหมด ๑๓ บท
                                   ตอน สามัคคีเสวก เป็นกลอนทั้งหมด ๙ บท
ที่มาของเรื่อง              เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๖) ซึ่งทรง
                               พระราชนิพนธ์    ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗

จุดประสงค์ในการแต่ง    เพื่อใช้เป็นบทสำหรับอธิบายนำเรื่องในการฟ้อนรำตอนต่างๆ
เนื้อเรื่อง
            บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา
             ชาติใดที่มีศึกสงครามไม่มีความสงบสุขในแผ่นดิน ประชาชนย่อมไม่มีจิตใจสนใจความงดงามของศิลปะ
แต่หากประเทศใด(ชาติใด)บ้านเมืองสงบสุขปราศจากสงคราม  ประชาชนก็จะทำนุบำรุงการศิลปกรรมทั้งปวงให้เจริญรุ่งเรือง
            ชาติใดที่ปราศจากช่างศิลป์  ก็เปรียบเสมือนหญิงสาวที่ไม่มีความงามไม่เป็นที่ต้องตาต้องใจของใคร 
มีแต่จะถูกเยาะเย้ยให้ได้อาย  อันศิลปกรรมนั้นช่วยทำให้จิตใจคลายเศร้า  ช่วยทำให้ความทุกข์หมด  ทำให้จิตใจของเรามีความสุขซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงไปด้วย(ทำให้สุขภาพ ใจและกายดี)  ตรงกันข้าม  หากใครไม่เห็นคุณค่าความงามของศิลปะ  เมื่อเผชิญความทุกข์ก็ไม่มีสิ่งใดมาเป็นยาช่วยรสมานบาดแผลของจิตใจ  เขาเหล่านั้นจึงเป็นคนที่น่าสงสารยิ่งนัก  เพราะความรู้ทางช่างศิลป์สำคัญเช่นนี้  นานาประเทศจึงนิยมยกย่องคุณค่าของศิลปะและความสามารถเชิงช่างของช่างศิลป์ ว่าเป็นเกียรติยศ ความรุ่งเรืองของแผ่นดิน  คนที่ไม่เห็นคุณค่าของศิลปะก็เหมือนคนป่าคนดง  ป่วยการอธิบาย  พูดด้วยก็เปลืองน้ำลายเปล่า
แต่ประเทศไทยของเรานั้นเห็นคุณค่าของงานช่างศิลป์ เช่น ช่างปั้น  ช่างเขียน  ช่างสถาปัตย์ ช่างทองรูปพรรณ  ช่างเงิน  ช่างถมและช่างอัญมณี  ซึ่งเราควรสนับสนุนงานช่างศิลป์ไทยให้ก้าวหน้ารุ่งเรืองอย่าให้ด้อยน้อย หน้ากว่านานาประเทศ  ชาวต่างชาติเมื่อมาเยือนเมืองไทยจะได้ซ้อหางานศิลปะเหล่านี้กลับไปเพราะเห็น ในคุณค่า  การช่วยสนับสนุนงานศิลปกรรม  และส่งเสริมช่างศิลป์ไทยให้สร้างสรรค์งานศิลปะขึ้นจึงเท่ากับได้ช่วยพัฒนา ชาติ ให้เจริญพัฒนาอย่าถาวร


            บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก
             สิ่งหนึ่งที่เราควรมีไว้ในจิตใจคือ พระเจ้าแผ่นดินเปรียบเสมือนพ่อบังเกิดเกล้าที่เราควรเกรงใจและเคารพนับถือ เราต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ควรนึกว่าพวกเราก็เป็นข้ารับใช้ของพระเจ้าแผ่นดินคนหนึ่งเหมือนลูกเรือที่ อยู่ในเรือกลางทะเลจำเป็นที่จะต้องมีความสามัคคีต่อกันและกัน ถ้าลูกเรือเชื่อฟังกัปตันก็จะต้องช่วยกัปตันอย่างแข็งขัน ต้องตั้งใจฟังคำสั่งของกัปตันเรือก็จะรอดไปถึงจุดหมาย แต่ถ้าลูกเรือไม่เชื่อฟังกัปตันและเริ่มแตกคอกัน เวลาคลื่นลมแรงเรือก็จะโคลงเคลง ต่อมาเรือก็จะจม ถ้าลูกเรือมัวแต่ทะเลาะกัน กัปตันก็จะไม่มีกำลังมาต่อสู้ ถ้าไม่เคร่งครัดต่อกฏระเบียบเวลาที่เกิดภัยอะไรขึ้นจะเดือดร้อนกัปตันสั่งอะไรก็ไม่ฟังพอถึงเวลาก็มีข้อขัดแย้งต่อมาก็จะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้น ในที่สุดเรือก็จะล่มกลางทะเล ถึงจะเป็นข้ารับใช้ของพระเจ้าแผ่นดินก็ไม่ควรขาดความสามัคคีปรองดองกัน เหตุการณ์ในพระราชสำนักก็เปรียบเสมือนเรือที่แล่นอยู่ตามทะเลมหาสมุทร เหล่าข้าราชการในราชสำนักก็เหมือนเป็นกะลาสีควรให้ความสำคัญกับหน้าที่ที่ ต้องทำเป็นหลัก ปฏิบัติตนตามกฎตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดและสามัคคีจงรักภักดีต่อพระ เจ้าแผ่นดินไม่ควรแยกฝ่ายเลือกที่จะเคารพเชื่อฟังใคร ควรที่จะสามัคคีปรองดองกันในหมู่ข้าราชการเพื่อเป็นพลังในการทำความดีให้สม กับที่มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น