หน้าเว็บ

ใบความรู้ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก




บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก
ผู้แต่ง  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ลักษณะคำประพันธ์  กลอนบทละคร
จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อใช้เล่นละครใน และใช้เป็นบทปลุกใจประชาชนให้กล้าหาญ สอนศีลธรรมแก่ประชาชน
ที่มาของเรื่อง   บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ฉบับระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
เนื้อเรื่องย่อ
             นนทกนั่งประจำอยู่ที่บันไดของเขาไกรลาศ  โดยมีหน้าที่ล้างเท้าให้แก่เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร  ได้ยื่นเท้าให้ล้างแล้วมักแหย่เย้าหยอกล้อนนทกอยู่เป็นประจำ  ด้วยการลูบหัวบ้าง  ถอนผมบ้างจนกระทั่งหัวโล้นทั้งศีรษะ  นนทกแค้นใจมากแต่ว่าตนเองไม่มีกำลังจะสู้ได้  จึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวร แล้วกราบทูลว่า ตนได้ทำงานรับใช้พระองค์มานานถึง ๑๐ ล้านปี  ยังไม่เคยได้รับสิ่งตอบแทนใดๆเลย  จึงทูลขอให้นิ้วเพชร  มีฤทธิ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นตาย   พระอิศวรเห็นว่านนทกปฏิบัติหน้าที่รับใช้พระองค์มานานจึงประทานพรให้ตามที่ขอ  ไม่นานนักนนทกก็มีใจกำเริบ  เพียงแต่ถูกเทวดามาลูบหัวเล่นเช่นเคย  นนทกก็ชี้ให้ตายเป็นจำนวนมาก   พระอิศวรทรงทราบก็ทรงกริ้ว  โปรดให้พระนารายณ์ไปปราบ
             พระนารายณ์ แปลงเป็นนางฟ้ามายั่วยวน  นนทกนึกรักจึงเกี่ยวนาง  นางแปลงจึงชักชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก  นนทกรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้วเพชรชี้ขาตนเองนนทกก็ลมลง
             จากนั้นนนทกเห็นนางแปลงร่างเป็นพระนารายณ์  จึงตอบว่า พระนารายณ์  ว่าเอาเปรียบตนเพราะว่า    พระนารายณ์มีอำนาจ  มีถึง ๔  กร  แต่ตนมีแค่ ๒ มือ  และเหตุใดจึงมาทำอุบายหลอกลวงตนอีก
             พระนารายณ์จึงท้าให้นนทก  ไปเกิดใหม่ให้มี ๒๐ มือ  แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง ๒ มือ  ลงไปสู้กัน  หลังจากที่พระนารายพูดจบก็ใช้พระแสงตรีตัดศีรษะนนทกแล้วนนทกก็สิ้นใจตาย
             ชาติต่อมานนทกจึงได้ไปเกิดเป็นทศกัณฐ์   ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม

ข้อคิดที่ได้รับ  ๑. อำนาจตกอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้ายตามมาได้
                       ๒. เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก
                       ๓. คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น
                       ๔. ความหลงอำนาจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้อยู่ร่วมในสังคมต้องได้รับความเดือดร้อน
                       ๕. วรรณคดีเป็นบทวิจารณ์ชีวิตที่ทำให้คนเราเข้าใจชีวิตของเพื่อนมนุษย์ได้อีกทางหนึ่งเนื้อเรื่องย่อ





กฎของกลอนบทละคร
         . กลอนบทละครกำหนดคำในวรรคหนึ่งได้ตั้งแต่ ๖-๙ คำ แต่ที่นิยมแต่งมักเป็น ๖ หรือ ๗ คำเพราะ เข้าจังหวะและทำนองร้องได้ดี
         . สัมผัส ให้ถือหลักเกณฑ์ของกลอนสุภาพเป็นหลัก  เพราะกลอนบทละครเป็นกลอนผสม ในบทหนึ่งอาจจะมีกลอน ๖ กลอน ๗ กลอน ๘ กลอน ๙ รวมกันก็ได้ ถ้าวรรคไหนใช้กลอนอะไรก็ใช้สัมผัสตามหลักกลอนนั้น
         . เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคที่นิยมในกลอนสุภาพนั้น  ในกลอนบทละครไม่เคร่งครัดนักเพราะต้องอาศัยทำนองร้องและเพลงปี่พาทย์เป็นสำคัญ
. วรรคแรกหรือวรรคสดับของบทละคร นิยมใช้คำนำ หรือคำขึ้นต้นเพื่อขึ้น ความใหม่หรือเปลี่ยนทำนองร้องใหม่คำนำนี้บางทีใช้ ๒ พยางค์  ๓ พยางค์หรือ ๔ พยางค์ แต่ต้องนับ เป็นหนึ่งวรรคเต็ม เพราะเวลาร้อง ต้องเอื้อนเสียงร้องให้ยาวมีจังหวะ เท่ากับวรรคธรรมดา


                                               เมื่อนั้น                                         พระตรีภพลบโลกเรืองศรี
                                 ไสยาสน์เหนืออาสน์รูจี                              ยังที่สุวรรณพลับพลา
                                 ตรึกไปในการรณยทธ์                               พระทรงครุฑแสนโสมนัสสา
                                 ด้วยได้ดวงใจอสุรา                                    ทศพักตร์นั้นมาไว้กับกร.
                                                                                                                            (รามเกียรติ์ : รัชกาลที่๑ )
กลอนบทละคร  
                       หมายถึง กลอนที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงละครหลักเกณฑ์ในการแต่งโดยทั่วไปก็เหมือนกับการแต่งกลอนสุภาพแต่ละวรรคมีคำได้ตั้งแต่ ๖-๙ คำ  การนับกลอนบทละครจะนับเป็นคำกลอน นั่นคือ  ๒ วรรคเท่ากับ ๑ คำกลอน การจะใช้คำมากน้อยขึ้นอยู่กับทำนองร้องเป็นสำคัญ
การขึ้นต้นกลอนบทละคร
 “เมื่อนั้น” 
ใช้เมื่อขึ้นต้นกับตัวละครที่สำคัญ เช่นตัวเอกหรือกษัตริย์
 “บัดนั้นใช้ขึ้นต้นตัวละครที่เป็นตัวรอง เช่นเสนา อำมาตย์หรือตัวละครธรรมดา
 มาจะกล่าวบทไปใช้ขึ้นต้นเมื่อเริ่มตอนใหม่ นอกจากนั้นยังมีการขึ้นต้นด้วยวลี ตั้งแต่ 2 คำ -4 คำหรืออาจมากกว่าก็ได้


ตัวอย่าง
การอ่านกลอนบทละคร
       การอ่านกลอนบทละคร ควรอ่านเป็นจังหวะ โดยมีช่วงจังหวะหยุดสั้น ๆ ภายใน แต่ละวรรคดังนี้
- ถ้าคำในวรรคมี ๗ คำ ควรอ่านเป็นจังหวะ ooo/oo/oo หรือ oo/oo/ooo  เช่น
             หนุมาน / องคต / แข็งขัน
            คือศรี / สุครีพ / ชมพูพาน
         - ถ้าในวรรคมี ๘ คำ ควรอ่านเป็นจังหวะ ooo/oo/ooo เช่น
                      อันทหาร / ทั้งสอง / นัคเรศ
         - ถ้าคำในวรรคมี ๙ คำ ควรอ่านเป็นจังหวะ ooo/ooo/ooo เช่น
            นางมณโฑ / เยาวยอด / เสน่หา
ท่ารำของนางสุวรรณอัปสร
         . เทพนม                      . ปฐม                           . พรหมสี่หน้า               . สอดสร้อยมาลา      
. กวางเดินดง               . หงส์บิน                       . กินรินเลียบถ้ำ             . ช้านางนอน       
         . ภมรเคล้า                    ๑๐. แขกเต้าเข้ารัง            . ผาลาเพียงไหล่            ๑๒. เมขลาล่อแก้ว  
         ๑๓. มยุเรศฟ้อน              ๑๔. ลมพัดยอดตอง         ๑๕. พรหมนิมิต               ๑๖. พิสมัยเรียงหมอน  
         ๑๗. มัจฉาชมสาคร         ๑๘. พระสี่กรขว้างจักร    ๑๙. นาคาม้วนหาง

การพิจารณาคุณค่าบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก
รสของวรรณคดี
            รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก มีความดีเด่นในด้านวรรณศิลป์ ก่อให้เกิดสุนทรียะ คือ แง่งามของ
ฉันทลักษณ์ด้วยกระบวนการพรรณนาที่เหมาะสม มีรสทางวรรณคดีครบทั้ง ๔ รส ดังนี้
            . เสาวรจนี คือ (ชมโฉม ชมความงาม) การชมความงามทั้งของตัวละครและสิ่งต่างๆ เมื่อนนทกเห็นนางนารายณ์แปลงก็ตกตะลึงในความงาม ถึงกับพรรณนาออกมาดังความว่า
                                             เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์         พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข
                                 งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร                        งามนัยน์เนตรงามกร
                                 งามถันงามกรรณงามขนง                         งามองค์ยิ่งเทพอัปสร
                                 งามจริตกิริยางามงอน                              งามเอวงามอ่อนทั้งกายา
                                 ถึงโฉมองค์อัครลักษมี                              พระสุรัสวดีเสน่หา
                                 สิ้นทั้งไตรภพจบโลกา                             จะเอามาเปรียบไม่เทียบทัน
                                 ดูไหนก็เพลินจำเริญรัก                             ในองค์เยาวลักษณ์สาวสวรรค์
                                 ยิ่งพิศยิ่งคิดผูกพัน                                   ก็เดินกระชั้นเข้าไป ฯ
            . นารีปราโมทย์ คือ (บทเกี้ยวพาราสี) การเล้าโลมเกี้ยวพาราสีหรือพูดให้เพลิดเพลิน นนทกเกี้ยวพาราสีนางนารายณ์แปลง ดังความว่า
                                    สุดเอยสุดสวาท                         โฉมประหลาดล้ำเทพอัปสร
                        ทั้งวาจาจริตก็งามงอน                             ควรเป็นนางฟ้อนวิไลลักษณ์
                        อันซึ่งธุระของเจ้า                                    หนักเบาจงแจ้งให้ประจักษ์
                        ถ้าวาสนาเราเคยบำรุงรัก                           ก็จะเป็นภักษ์ผลสืบไป
                        ตัวพี่มิได้ลวนลาม                                   จะถือความสิ่งนี้นี่ไม่ได้
                        สาวสวรรค์ขวัญฟ้ายาใจ                           พี่ไร้คู่จะพึ่งแต่ไมตรี ฯ

. พิโรธวาทัง คือ (บทตัดพ้อต่อว่า หรือบทโกรธ) ดังตอนที่นนทกต่อว่าเทวดาที่แกล้งตน ดังความว่า
                                    บัดนั้น                                     นนทกน้ำใจแกล้วกล้า
                        กริ้วโกรธร้องประกาศตวาดมา                 อนิจจาข่มเหงเล่นทุกวัน
                        จนหัวไม่มีผมติด                                     สุดคิดที่เราจะอดกลั้น
                        วันนี้เราจะได้เห็นกัน                               ขบฟันแล้วชี้นิ้วไป ฯ



และตอนที่นนทกต่อว่าพระนารายณ์ ดังความว่า
                                    บัดนั้น                                     นนทกผู้ใจแกล้วหาญ
                        ได้ฟังจึ่งตอบพจมาน                               ซึ่งพระองค์จะผลาญชีวี
                        เหตุใดมิทำซึ่งหน้า                                  มารยาเป็นหญิงไม่บัดสี
                        ฤว่ากลัวนิ้วเพชรนี้                                   จะชี้พระองค์ให้บรรลัย
                        ตัวข้ามีมือแต่สองมือ                                หรือจะสู้ทั้งสี่กรได้
                        แม้นสี่มือเหมือนพระองค์ทรงชัย              ที่ไหนจะทำได้ดั่งนี้ ฯ

. สัลลาปังคพิสัย (บทเศร้าโศก คร่ำครวญ พร่ำเพ้อ อาลัยอาวรณ์) ในเรื่องกล่าวถึงตอนที่นนทกคร่ำครวญรำพึงรำพัน เมื่อเข้าเฝ้าพระอิศวร
                                    พระองค์ผู้ทรงศักดาเดช                          ไม่โปรดเกศแก่ข้าบทศรี
                        กรรมเวรสิ่งใดดั่งนี้                                              ทูลพลางโกศีรำพัน ฯ ”


เพลงหน้าพาทย์
                   คือ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบอากัปกิริยาของตัวโขน ละครหรือใช้สำหรับอัญเชิญพระเป็นเจ้า ฤษี เทวดา และครูบาอาจารย์ทั้งหลายให้มาร่วมในพิธีไหว้ครู และพิธีที่เป็นมงคลต่างๆ อากัปกิริยาของตัวโขนละครต่างๆ นั้น เป็นกิริยาที่มองเห็นได้ เพราะกำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน เช่น กิริยาเดิน วิ่ง นั่ง นอน กิน เศร้าโศก ร้องไห้ ฯลฯ เป็นต้น ส่วนอากัปกิริยาของพระเป็นเจ้า ฤษี และเทพพรหมต่างๆ ที่อัญเชิญมาร่วมในพิธีไหว้ครู และพิธีมงคลต่างๆ นั้นถือว่าเป็นกิริยาสมมุติ เพราะมองไม่เห็น เช่น สมมุติว่าเวลานี้ได้เสด็จแล้ว ก็บรรเลงเพลงหน้าพาทย์รับเสด็จ เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงในเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก ได้แก่
         . เพลงเชิด  ใช้บรรเลงประกอบกิริยาไป-มาที่รีบร้อนหรือรบกัน
         . เพลงเสมอ  ใช้บรรเลงประกอบกิริยาไปมาตามปกติ
         . เพลงโอด  ใช้บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ หรือสลบ หรือตาย
         . เพลงตระ  ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอาการเคลื่อนไหวอย่างมีปาฏิหาริย์
         . เพลงเหาะ  ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอาการไปมาในอากาศของเทวดา

ผู้แต่งรามเกียรติ์
          เรื่องรามเกียรติ์ในประเทศไทยมีมากฉบับด้วยกัน อาจมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วก็ได้ แต่ที่มีหลักฐานชัดเจนนั้นได้แก่
         ๑. ฉบับพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งมีเพียงไม่กี่ตอน
         ๒. ฉบับพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า รามเกียรติ์รัชกาลที่ ๑ ซึ่งมีต้นฉบับสมบูรณ์ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นเรื่องเดียวยืดยาวตั้งแต่ต้นจนจบ คล้ายกับมีพระราชประสงค์ที่จะรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ที่คนไทยรู้จักดีเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ตอนศึกไมยราพและตอนทศกัณฐ์ล้ม
         ๓. ฉบับพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือที่เรียกสั้นๆว่า รามเกียรติ์รัชกาลที่ ๒ ทรงมุ่งพระราชนิพนธ์ให้เป็นบทละครรำโดยแท้ สรรคำใช้อย่างประณีตเหมาะแก่กระบวนการท่ารำทุกประการ แม้จะทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นเรื่องยาวแต่ก็ไม่เท่าฉบับ รัชกาลที่ ๑
         ๔. ฉบับพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับเล่นโขนหรือละครโดยตรงเป็นตอนๆไปเช่น ตอนพระรามเดินป่า เพื่อรักษาสัตย์ของพระบิดา
         ๕. ฉบับพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรามเกียรติ์รัชกาลที่ ๕ แปลกไปกว่ารามเกียรติ์ฉบับก่อนๆ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นโคลงจารึกไว้ตาเสาพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามตรงตามภาพวาดที่อยู่บนฝาผนังเป็นช่องๆไป รวมหลายพันบทด้วยกัน มีเจ้านายและข้าราชการอื่นๆที่ทรงชักชวนให้ช่วยกันร่วมแต่งด้วย
         ๖. ฉบับพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เป็นตอนๆเช่นกัน ทรงบรรยายไปตามเค้าเรื่องเดิมของคัมภีร์รามายณะของอินเดีย ซึ่งวาลมิกิ เป็นผู้รจนา ชื่อตัวละคร การลำดับเรื่อง ตลอดจนบุคลิกภาพของตัวละครทรงอนุโลมตามรามายณะของวาลมิกิ







1 ความคิดเห็น: